เทวราชเลือดเหล็ก - The Sect Of Blood And Iron [จบ]
โพสต์
18 มิ.ย., 2559
แสดงนำ: สือซิว (Sek Sau) หลิวชิงหวิน (Lau Ching Wan)
ไม่ชุ่ยเสียน เลียวฉีจือ หลี่หงฉี Lai Hon Chi
โก้วเล้งเขียนธวัชล้ำฟ้าขึ้นในปีพ.ศ.2508 ถือเป็นผลงานยุคกลางที่โดดเด่นที่สุดของมังกรโบราณท่านนี้ หลังจากที่โก้วเล้งมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ พอย่างเข้าปีพ.ศ.2522 จึงแก้ไขขัดเกลาผลงานเรื่องนี้ขึ้นมาใหม่ ในส่วนของผมแปลเรียบเรียงเรื่องนี้ตั้งแต่ปีพ.ศ.2513 กล่าวได้ว่าอ่อนด้อยทั้งวัยวุฒิ และขาดประสบการณ์ด้านการแปล ดังนั้นสามสิบสามปีให้หลังของวันนี้ จึงทำการแปลเรียบเรียงธวัชล้ำฟ้าใหม่ โดยยึดถือฉบับแก้ไขปรับปรุงของโก้วเล้งเป็นหลัก
จุดเด่นอีกประการหนึ่งของธวัชล้ำฟ้าก็คือ ตัวเอกของเรื่อง ทิตงทั้ง เป็นหนึ่งในสามตัวเอกที่โก้วเล้งชื่นชอบเป็นพิเศษ ทั้งนี้จากการเปิดเผยของโก้วเล้ง ตัวเอกที่เขาชื่นชอบประกอบด้วย ทิตงทั้งแห่งธวัชล้ำฟ้า ลี้ชิ้มฮัวแห่งเซียวลี้ปวยตอ มีดบินไม่พลาดเป้า และ ก๊วยไต้โล่วแห่งวีรบุรุษสำราญ
ทิตงทั้งเป็นตัวละครที่เงียบขรึมมิใคร่พูดจา แต่เมื่อลั่นปากมีวาจาหนักแน่นประดุจขุนเขา ทิตงทั้งยังกล้ำกลืนฝืนอัปยศ จำแนกบุญคุณความแค้นชัดแจ้ง เป็นชายชาตรีที่ยืนหยัดท้าฟ้าดิน แทบถอดแบบมาจากเหล่าบุรุษเหล็กในงานเขียนของเฮอเนสต์ เฮมิ่งเวย์ และในผลงานยุคหลังของโก้วเล้งก็เอ่ยถึงทิตงทั้งอยู่เสมอ
ธงใหญ่โบกสะบัดท้าทายลม คืนฤดูสาทรขโมยม้าลงโทษทัณฑ์ เป็นเหตุการณ์เปิดฉากของธวัชล้ำฟ้า เขียนถึงทิตงทั้งที่กอปรด้วยสติปัญญาความกล้าหาญ ถือน้ำใจเทิดคุณธรรม มาตรว่าถูกเข้าใจผิดติดต่อกัน ยังยื่นมือเข้าช่วยเหลือศิษย์น้องร่วมสำนัก เป็นเหตุให้พลัดตกลงจากหน้าผา ได้รับวาสนาในคราเคราะห์ มิเพียงประสบพบจุ้ยเล้งกวงที่งามทั้งกริยาและจิตใจ ทั้งยังค้นพบขุมทรัพย์สำนักธวัชล้ำฟ้า หลังจากนั้นใช้สติปัญญาดำเนินกุศโลบายเปิดฉากปฎิบัติการล้างแค้น
ธวัชล้ำฟ้า แม้เขียนถึงการล้างแค้น ขณะเดียวกันก็ถ่ายทอดถึงนิสัยใจคอของมนุษย์ เล่ห์เพทุบายในยุทธจักร และความรักความใคร่ที่ซับซ้อน เป็นผลงานที่กินความร้อยกว่าหมื่นตัวของโก้วเล้ง กอปรด้วยพลังอันน่าเกรงขาม เค้าโครงที่ยิ่งใหญ่ตระการ ซึ่งในบรรดาผลงานของโก้วเล้ง ยากที่จะมีเรื่องใดเสมอเหมือน
ตอนที่ 1;http://dubth.gl/0c0B0B7rUVKvWlVI1RE1oRGxFYzBMaGc|ตอนที่ 2;http://dubth.gl/0c0B0B7rUVKvWlVI1eXB1RF9oZHdmdEU|ตอนที่ 3;http://dubth.gl/0c0B0B7rUVKvWlVI1TnY1RlUxMVRWZjg|ตอนที่ 4;http://dubth.gl/0c0B0B7rUVKvWlVI1dTE5M1hLeGJoODg|ตอนที่ 5;http://dubth.gl/0c0B0B7rUVKvWlVI1QUgtblJWY2U4dHM|ตอนที่ 6;http://dubth.gl/0c0B0B7rUVKvWlVI1cWZyeHVvVHBiLTA|ตอนที่ 7;http://dubth.gl/0c0B0B7rUVKvWlVI1d2o2ekNEeFZrWm8|ตอนที่ 8;http://dubth.gl/0c0B0B7rUVKvWlVI1Qm9icTJqWnhPc1k|ตอนที่ 9;http://dubth.gl/0c0B0B7rUVKvWlVI1bGV6RkpaUjJlM3M|ตอนที่ 10;http://dubth.gl/0c0B0B7rUVKvWlVI1ajI3VURZaWk5M1U|ตอนที่ 11;http://dubth.gl/0c0B0B7rUVKvWlVI1SWl1MHJUSW1qRDQ|ตอนที่ 12;http://dubth.gl/0c0B0B7rUVKvWlVI1b29TMkl3cm1QaHc|ตอนที่ 13;http://dubth.gl/0c0B0B7rUVKvWlVI1aGM0Mmk5VWZJSGc|ตอนที่ 14;http://dubth.gl/0c0B0B7rUVKvWlVI1ZV9ZM0RRc045SGM|ตอนที่ 15;http://dubth.gl/0c0B0B7rUVKvWlVI1SUNEMTN0YW00alU|ตอนที่ 16;http://dubth.gl/0c0B0B7rUVKvWlVI1Y2hjRnN5OEdpekU|ตอนที่ 17;http://dubth.gl/0c0B0B7rUVKvWlVI1dHZnN3Y1QUY3U00|ตอนที่ 18;http://dubth.gl/0c0B0B7rUVKvWlVI1NmgzeHRUTUZaNkU|ตอนที่ 19;http://dubth.gl/0c0B0B7rUVKvWlVI1UGZUZEtScFFQb0U|ตอนที่ 20;http://dubth.gl/0c0B0B7rUVKvWlVI1cFg1QlZxWld5azg|ตอนที่ 21 จบ;http://dubth.gl/0c0B0B7rUVKvWlVI1TDJYc044ZkwzV2s|
ไม่ชุ่ยเสียน เลียวฉีจือ หลี่หงฉี Lai Hon Chi
โก้วเล้งเขียนธวัชล้ำฟ้าขึ้นในปีพ.ศ.2508 ถือเป็นผลงานยุคกลางที่โดดเด่นที่สุดของมังกรโบราณท่านนี้ หลังจากที่โก้วเล้งมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ พอย่างเข้าปีพ.ศ.2522 จึงแก้ไขขัดเกลาผลงานเรื่องนี้ขึ้นมาใหม่ ในส่วนของผมแปลเรียบเรียงเรื่องนี้ตั้งแต่ปีพ.ศ.2513 กล่าวได้ว่าอ่อนด้อยทั้งวัยวุฒิ และขาดประสบการณ์ด้านการแปล ดังนั้นสามสิบสามปีให้หลังของวันนี้ จึงทำการแปลเรียบเรียงธวัชล้ำฟ้าใหม่ โดยยึดถือฉบับแก้ไขปรับปรุงของโก้วเล้งเป็นหลัก
จุดเด่นอีกประการหนึ่งของธวัชล้ำฟ้าก็คือ ตัวเอกของเรื่อง ทิตงทั้ง เป็นหนึ่งในสามตัวเอกที่โก้วเล้งชื่นชอบเป็นพิเศษ ทั้งนี้จากการเปิดเผยของโก้วเล้ง ตัวเอกที่เขาชื่นชอบประกอบด้วย ทิตงทั้งแห่งธวัชล้ำฟ้า ลี้ชิ้มฮัวแห่งเซียวลี้ปวยตอ มีดบินไม่พลาดเป้า และ ก๊วยไต้โล่วแห่งวีรบุรุษสำราญ
ทิตงทั้งเป็นตัวละครที่เงียบขรึมมิใคร่พูดจา แต่เมื่อลั่นปากมีวาจาหนักแน่นประดุจขุนเขา ทิตงทั้งยังกล้ำกลืนฝืนอัปยศ จำแนกบุญคุณความแค้นชัดแจ้ง เป็นชายชาตรีที่ยืนหยัดท้าฟ้าดิน แทบถอดแบบมาจากเหล่าบุรุษเหล็กในงานเขียนของเฮอเนสต์ เฮมิ่งเวย์ และในผลงานยุคหลังของโก้วเล้งก็เอ่ยถึงทิตงทั้งอยู่เสมอ
ธงใหญ่โบกสะบัดท้าทายลม คืนฤดูสาทรขโมยม้าลงโทษทัณฑ์ เป็นเหตุการณ์เปิดฉากของธวัชล้ำฟ้า เขียนถึงทิตงทั้งที่กอปรด้วยสติปัญญาความกล้าหาญ ถือน้ำใจเทิดคุณธรรม มาตรว่าถูกเข้าใจผิดติดต่อกัน ยังยื่นมือเข้าช่วยเหลือศิษย์น้องร่วมสำนัก เป็นเหตุให้พลัดตกลงจากหน้าผา ได้รับวาสนาในคราเคราะห์ มิเพียงประสบพบจุ้ยเล้งกวงที่งามทั้งกริยาและจิตใจ ทั้งยังค้นพบขุมทรัพย์สำนักธวัชล้ำฟ้า หลังจากนั้นใช้สติปัญญาดำเนินกุศโลบายเปิดฉากปฎิบัติการล้างแค้น
ธวัชล้ำฟ้า แม้เขียนถึงการล้างแค้น ขณะเดียวกันก็ถ่ายทอดถึงนิสัยใจคอของมนุษย์ เล่ห์เพทุบายในยุทธจักร และความรักความใคร่ที่ซับซ้อน เป็นผลงานที่กินความร้อยกว่าหมื่นตัวของโก้วเล้ง กอปรด้วยพลังอันน่าเกรงขาม เค้าโครงที่ยิ่งใหญ่ตระการ ซึ่งในบรรดาผลงานของโก้วเล้ง ยากที่จะมีเรื่องใดเสมอเหมือน